ตัววิ่ง

ยินดีต้อนรับเข้าสู่เว็บของNitchakarn Kwanjai

วันพฤหัสบดีที่ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

วิกฤตการณ์ด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในประเทศไทย


ปัจจุบันประเทศไทยต้องเผชิญกับวิกฤตการณ์ด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมและนับวันวิกฤตการณ์ต่างๆ ก็ยิ่งทวีความรุนแรงมากขึ้น ส่งผลกระทบทั้งโดยอ้อมต่อประชากร รวมถึงการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ
               1.วิกฤตการณ์เกี่ยวกับที่ดินและทรัพยากรดิน
จากความจำกัดของที่ดิน การเปลี่ยนแปลงสภาพการใช้ที่ดิน การใช้ที่ดินไม่เหมาะสมกับสมรรถนะของที่ดิน และการจัดระเบียบการใช้ที่ดินที่ไม่ถูกต้องของผู้ครองที่ดินสาเหตุต่างๆ เหล่านี้ล้วนเป็นวิกฤตการณ์เกี่ยวกับที่ดิน และจะเป็นปัญหาของประเทศมากยิ่งขึ้นหากไม่มีมาตรการแก้ไขที่ถูกต้องเหมาะสม โดยวิกฤตการณ์เกี่ยวกับที่ดินของประเทศไทย มีดังนี้
              1.1ความจำกัดของจำนวนที่ดิน  ประเทศไทยมีพื้นที่อยู่ประมาณ 320 ล้านไร่ โดยเป็นทั้งพื้นที่ที่ใช้เป็นที่อาศัย เป็นพื้นที่ทำการเกษตรและอุตสาหกรรม เป็นพื้นที่ป่าและที่ดินร้างว่างเปล่า ในขณะที่จำนวนประชากรของประเทศเพิ่มขึ้นจาก 18 ล้านคน ใน พ.ศ. 2490 เป็น 64 ล้านคนใน  พ.ศ. 2552 การพัฒนาประเทศทำให้ชุมชนเมืองขยายตัวเข้าไปในพื้นที่เกษตรกรรม เช่น การขยายของกรุงเทพ ทำให้บริเวณพื้นที่ฝั่งธนบุรีที่เคยเป็นสวนผลไม้และนาข้าวหมดไป เป็นต้น และในส่วนของการพัฒนาเศรษฐกิจที่มีการเร่งเพิ่มผลผลิตทางการเกษตรเช่น ข้าว ยางพารา อ้อย มันสำปะหลัง เป็นต้น ทำให้มีการบุกรุกพื้นที่ป่า โดยเฉพาะในพื้นที่ภาคเหลือ ได้แก่ จังหวัดเชียงราย พะเยา แพร่ และน่าน พื้นที่ไม้บริเวณเหล่านั้นกลายพื้นที่เกษตรกรรม ความต้องการที่ดินทั้งใช้ เป็นต้น ที่อยู่อาศัย ชุมชน และใช้เพื่อการเพาะปลูกจึงสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ในขณะที่ที่ดินหรือพื้นที่ของประเทศไม่สามารถเพิ่มขึ้นได้
               1.2การเปลี่ยนสภาพการใช้ที่ดิน ปริมาณพื้นที่ทางการเกษตรของประเทศที่เพิ่มมากขึ้นโดยการเปลี่ยนสภาพที่ดินที่เป็นป่าไม้โดยใน พ.ศ. 2523 มีพื้นที่ทำการเกษตรเพียง 147.1 ล้านไร่ ครั้งต่อมาใน พ.ศ. 2551 พื้นที่ ทำการเกษตรได้เพิ่มขึ้นเป็น 170.2 ล้านไร่  จึงเป็นไปได้ว่าพื้นที่ทำการเกษตรที่เพิ่มขึ้นประมาณ 23 ล้านไร่นั้น เป็นบุกรุกเข้าไปในพื้นที่ป่าไม้ ดังจะเห็นได้จากพื้นที่ป่าไม้ในภาคเหนือ เช่น จังหวัดเชียงราย ลำปาง แพร่ น่าน เป็นต้น ล้วนนำมาเป็นพื้นที่ทำสวน ทำไร่ และทำนาเป็นส่วนมาก ในส่วนของที่ดินที่ใช้เป็นชุมชน ก็เช่นเดียวกัน พ.ศ. 2523 มีพื้นที่ชุมชนเพียง 1.4 ล้านไร่ และต่อมาใน พ.ศ. 2551 ได้เพิ่มพื้นที่เป็น 14.4 ล้านไร่ การเปลี่ยนแปลงสภาพการใช้ที่ดินดังกล่าวทำให้พื้นที่ป่าไม้และพื้นที่ว่างเปล่าลดลง ซึ่งจะมีผลกระทบต่อระบบนิเวศและวิกฤตการณ์โลกร้อนที่อยู่ในปัจจุบัน
              1.3 การพัฒนาอุตสาหกรรมชุมชนและสาธารณูปโภค การพัฒนาอุตสาหกรรมนับตั้งแต่การเปลี่ยนแปลงที่ตั้งของโรงงานจากในเมืองไปอยู่เมืองนอก เช่น จากในกรุงเพทมหานครไปอยู่บริเวณรังสิต บริเวณจังหวัดปทุมธานี และอำเภอบางปะอิน อำเภอวังน้อย จังหวัดพระนครศรีอยุธยารวมทั้งการไปจัดตั้งนิคมอุตสาหกรรมต่างๆ เช่นบริเวณแหลงฉบัง จังหวัดชลบุรี และบริเวณมาบตาพุด จังหวัดระยอง ล้วนเป็นการเข้าไปบุกรุกพื้นที่เกษตรกรรมที่มีอยู่ก่อน เมื่อมีการขยายตัวของการใช้พื้นที่อุตสาหกรรมออกไป ชุมชนก็ขยายตามไปด้วย คือ เป็นบ้านจักสรรร้านค้าสถานบริการรวมทั้งสาธารณูปโภค เช่น ถนน น้ำประปา ไฟฟ้า การสื่อสารและสถานที่ราชการต่างก็ต้องขยายตามไปด้วย การพัฒนาดังกล่าวล้วนทำให้ที่ดินที่มีอยู่อย่างจำกัดยิ่งขาดแคลนยิ่งขึ้นหรือไม่ก็เกิดการบุกรุกไปใช้พื้นที่ป่าไม้และพื้นที่ว่างเปล่าต่อไปอีก
              1.4การขาดกรรมสิทธิ์ถือครองที่ดิน ผู้ที่ถือครองที่ดินที่เป็นผู้มีกรรมสิทธิ์ที่ดินตามกฎหมายนั้นมีเป็นส่วนน้อย ผู้ประกอบอาชีพเกษตรกรรมมักเป็นผู้เช่าที่ดินทำกิน หรือไม่ก็เข้าไปใช้ประโยชน์จากที่ดินโดยรัฐยังไม่สามารถมอบกรรมสิทธิ์ที่ดินให้ได้อย่างถูกต้องตามกฎหมาย ทำให้ไม่สามารถพัฒนาที่ดินที่จะนำไปใช้ประโยชน์ได้เต็มศักยภาพ หรือไม่ก็ขาดความรู้ความเข้าใจในการครอบครองที่ดิน จนเกิดการฟ้องร้องให้ออกจากพื้นที่ เช่น กรณีของชาวบ้านจังหวัดเชียงใหม่ ลำพูน ถูกศาลตัดสินให้ออกจากที่ดิน เมื่อเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2553 เป็นต้น นอกจากนี้ยังมีกรณีการออกโฉนดที่ดินมนที่สาธารณะ ซึ่งมีตัวอย่างที่จังหวัดลำพูนจำนวนหลายพันไร่ กรณีดังกล่าวก่อให้เกิดความขัดแย่งและการร้องเรียงของชาวบ้านเกิดขึ้นในหลายพื้นที่โดยเฉพาะพื้นที่ภาคเหนือตอนบน
             1.5ปัญหาการถือครองที่ดิน การบุกรุกที่ดินของรัฐทั้งที่เป็นพื้นที่ป่าไม้และที่สาธารณะประโยชน์ ประชาชนเข้าไปอยู่อาศัยและประกอบอาชีพโดยขาดสิทธิในการครอบครองที่ดินตามกฎหมาย หรือการที่ประชาชนเข้าไปครอบครองอย่างถูกต้องแต่รัฐประกาศให้เป็นที่ดินของรัฐในภายหลัง ทำให้เจ้าหน้าที่ของรัฐในภายหลัง ทำให้เจ้าหน้าที่ของรัฐและประชาชนเกิดความขัดแย้งกัน และนอกจากนี้ที่ดินที่เป็นที่อยู่อาศัยมันไม่มีการโอนกรรมสิทธิ์อย่างถูกต้อง เมื่อระยะเวลาผ่านมานาน ทำให้ไม่สามารถระบุสิทธิ์ของผู้ถือครองได้อย่างถูกต้อง ก่อให้เกิดความขัดแย้งระหว่างประชาชนกับประชาชนด้วยกันเองนอกจากนั้นในการจัดรังวัดตรวจสอบที่ดินตามเอกสารดั้งเดิมมักจะปรากฏพื้นที่ดินทับซ้อนกันซึ่งทำให้เกิดความขัดแย้งได้เช่นกัน
            1.6การเกิดภัยธรรมชาติ  ภัยธรรมชาติที่มักเกิดขึ้นในประเทศไทยและก่อให้เกิดความเสียหายต่อชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน ที่สำคัญ ได้แก่ น้ำท่วมรวมทั้งการพัดเอาดินโคลนไหลไปทำความเสียหายแก่ชีวิตบ้านเรือน สาธารณูปโภค และผลผลิตทางการเกษตร เช่น ใน พ.ศ. 2548 ที่อำเภอลับแล อำเภอน้ำปาด และอำเอเมือง จังหวัดอุตรดิตถ์ ทำให้เกิดความเสียหายนับพันล้านบาท ส่วนในพื้นที่อื่นๆ เช่น จังหวัดเพชรบูรณ์  น่าน แพร่ สุโขทัย พิจิตร เป็นต้น ก็เกิดน้ำท่วมสร้างความเสยหายทุกปี นอกจากนี้พายุฤดูร้อนก็มักจะเกิดในช่วงเดือนเมษายน ที่อากาศร้อนจัด จนเป็นภัยต่อบ้านเรือนและทรัพย์สินเป็นจำนวนมาก
             1.7แผ่นดินทรุดตัว บริเวณพื้นที่ที่มีการใช้นำบาดาลมาก เช่น พื้นที่กรุงเทพมหานคร สมุทรปราการ นนทบุรี และปทุมธานี ได้มีการนำน้ำบาดาลขึ้นมาใช้อย่างต่อเนื่องมากว่า 30 ปีโดย เฉพาะพื้นที่บริเวณย่านรามคำแหง บางนา และในจังหวัดสมุทรปราการ แผ่นดินได้ทรุดตัวลงแล้วกว่า 1 เมตร และยังทรุดตัวลงอย่างต่อเนื่อง จนทำให้ภาครัฐต้องกำหนดมาตรการห้ามขุดเจาะน้ำบาดาลขึ้นมาใช้ และให้ใช้น้ำผิวดิน (น้ำในแม่น้ำ) มาทำประปาให้บริการเพิ่มมากขึ้น
พื้นที่ที่เสี่ยงต่อการเกิดการทรุดตัวหรือดินถล่มระดับสูงมีอยู่ทั่วภูมิภาคและหลายหมู่บ้าน เช่น จังหวัดเพชรบูรณ์ที่อำเภอเมือง อำเภอชนแดน และอำเภอบึงสามพัน จังหวัดเชียงรายที่อำเภอเมือง อำเภอแม่จัน และอำเภออื่นๆ จังหวัดน่านที่อำเภอปัว อำเภอท่าวังผาอำเภอเมือง และอำเภออื่นๆ จังหวัดกาญจนบุรี อำเภอทองผาภูมิ จังหวัดอุดรธานี ที่อำเภอนายูง และอำเภอน้ำโสม จังหวัดนราธิวาส ที่อำเภอสุคิริน อำเภอศรีสาคร อำเภอสุไหงปาดี และอำเภออื่นๆ
            1.8  ดินขาดความอุดมสมบูรณ์ หมายถึงดินที่มีธาตุอาหารสำหรับพืชต่ำ หรือมีธาตุอาหารแต่พืชไม่สามารถนำสารอาหารไปใช้ได้ทั้งนี้อาจจะเกิดการยึดตัวแน่น การเกิดสภาวะกรดจัด เค็มจัด การถูกชะล้างการใช้ที่ดินโดยขาดการบำรุงรักษา และการปลูกพืชผักซ้ำซาก
ดินเปรี้ยวเป็นดินที่มีค่า pH ต่ำมาก ทำให้ธาตุอาหารพืชไม่สามารถละลายออกมาใช้ประโยชน์ได้ ประโยชน์ได้ ประเทศไทยมีดินเปรี้ยวประมาณ 9.4 ล้านไร่ อยู่ในภาคกลางประมาณ 5.6 ล้านไร่ เช่นบริเวณจังหวัดปทุมธานี นครนายก ปราจีนบุรี ฉะเชิงเทรา และชลบุรี และเป็นบริเวณพื้นที่ฝั่งทะเลตะวันออกเฉียงใต้และฝั่งทะเลตะวันออกของภาคใต้อีกประมาณ 3.8 ล้านไร่
ดินเค็มเป็นดินที่มีปริมาณเกลือที่ละลายน้ำได้มากเกินไป บริเวณพื้นที่ดินเค็มส่วนใหญ่อยู่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือประมาณ 4.3 ล้านไร่ เช่น จังหวัดนครราชสีมา ขอนแก่น มหาสารคาม เป็นต้น ส่วนดินเค็มบริเวณชายฝั่งทะเลภาคใต้และภาคตะวันออก มีพื้นที่ประมาณ 3.7 ล้านไร่
ดินเสื่อมโทรม เป็นดินที่ต้องมีการจัดการปรับปรุงเป็นพิเศษจึงจะใช้เพาะปลูกได้ เช่นดินทรายมีพื้นที่ประมาณ 6 ล้านไร่ อยู่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ  3 ล้านไร่ นอกนั้นกระจายอยู่ในภาคต่างๆ ดินทรายดานมีพื้นที่ประมาณ 6 แสนไร่ พบมากในภาคใต้และภาคตะวันตก ดินลูกรังและดินตื้นมีอยู่ประมาณ 52 ล้านไร่ เป็นดินที่ไม่อุ้มน้ำและขาดอุดมสมบูรณ์ และดินเมืองร้างเป็นดินที่ในบริเวณที่ทำเหมือนมาก่อน พบมากในภาคใต้ เช่นจังหวัดพังงา ภูเก็ต ระนอง และสงขลา ภาคตะวันออกพบทั่งหวัดจันทบุรีและตราด
2. วิกฤตการณ์ทรัพยากรน้ำ
วิกฤตการณ์ทรัพยากรน้ำ เกิดจากสาเหตุหลักๆ ดังนี้
               2.1 การขาดแคลนน้ำ การเพิ่มจำนวนประชากร การเพิ่มผลผลิตทางการเกษตรและอุตสาหกรรม รวมถึงการเพิ่มปริมาณการใช้น้ำของครอบครัวและชุมชน ทำให้เกิดการขาดแคลนน้ำ โดยเฉพาะในฤดูแล้งพบว่า เกิดการขาดแคลนน้ำที่จะใช้ทำน้ำประปาในหลายพื้นที่ รวมทั้งขาดแคลนน้ำในการใช้เพาะปลูกและอุตสาหกรรมด้วยเช่น ในจังหวัดชลบุรี จันทบุรี ตราด ระยอง ปราจีนบุรี เป็นต้น
              2.2 น้ำเสียและสารพิษในน้ำ การทิ้งน้ำเสียจากบ้านเรือนและโรงงานอุตสาหกรรมลงสู่แหล่งน้ำ ทำให้น้ำเน่าเสีย สัตว์น้ำไม่สามารถดำรงชีวิตอยู่ได้ รวมถึงไม่สามารถนำมาใช้อุปโภคบริโภคหรือใช้ในการเกษตรได้ เช่นน้ำ ในแม่น้ำเจ้าพระยา แม่น้ำท่าจีน และลำคลองต่างๆ ในกรุงเทพมหานคร เป็นต้น
             2.3 น้ำท่วม เป็นปัญหาที่เกิดขึ้นกับพื้นที่ต่างๆ ของประเทศไทยเป็นประจำทุกปี โดนเฉพาะ.ในช่วงฤดูฝนที่ได้รับอิทธิพลจากพายุต่างๆ ในทะเลจีนใต้ ทำให้พื้นที่ทางการเกษตรบ้าเรือน และทรัพย์สินเสียหาย ในบริเวณและพื้นที่ที่เกิดน้ำท่วมเป็นประจำ ได้แก่ จังหวัดน่าน แพร่ สุโขทัย และพิจิตร นอกจากนี้ยังเป็นพื้นที่ราบลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา คือ จังหวัดสิงห์บุรี อ่างทอง พระนครศรีอยุธยา ปทุมธานี นนทบุรี และกรุงเทพฯ ที่เกิดปัญหาน้ำท่วมเป็นประจำ
              2.4 น้ำทะเลหนุน ในช่วงฤดูร้อนของทุกปีเป็นเวลาที่ปริมาณน้ำจากแม่น้ำไหลลงสู่อ่าวไทยน้อยลง ทำให้ทะเลหนุนเข้ามาในลำน้ำสายหลัก เช่น แม่น้ำเจ้าพระยา แม่น้ำท่าจีน เป็นต้น การที่น้ำทะเลหนุนมาสูง หมายถึง น้ำเค็มจะเข้ามาปะปนกับน้ำจืด ทำให้สัตว์น้ำจืดตายสวนผลไม้และบ้านเรือนเสียหาย รวมถึงประชาชนไม่สามารถใช้น้ำได้โดยเกิดขึ้นริมแม่น้ำเจ้าพระยา ในจังหวัดสมุทรปาการ และกรุงเทพฯ อยู่ทุกปี
             2.5 น้ำบาดาลลงระดับ น้ำบาดาลหรือน้ำใต้ดินได้ลดระดับต่างลงในทุกปีของพื้นที่ จนกลายเป็นที่วิตกกว่าน้ำเค็มจากทะเลไหลเข้ามาแทนที่ทำไม่สามารถนำน้ำบาดาลขึ้นมาใช้ได้ เช่น ในจังหวัดสมุทรปราการ นนทบุรี กรุงเทพมหานคร มีการขุดเจาะน้ำบาดาลขึ้นมาใช้ทำให้เกิดปัญหาแผ่นดินทรุดตามมาอีกด้วย
            2.6 ความตื้นเขินของแหล่งน้ำ  เกิดจากตะกอน ดินทราย ที่ถูกพัดมากับกระแสน้ำ เป็นสาเหตุทำให้แหล่งน้ำตื้นเขิน น้ำไหลผ่านไปได้ช้า ทำให้ในช่วงฤดูฝนจะมีปริมาณน้ำมากจะทำให้เกิดน้ำท่วม เช่น ลำน้ำมูล ในจังหวัดบุรีรัมย์ ลำน้ำอิง จังหวัดเชียงราย เป็นต้น นอกจากนี้วัชพืชที่อยู่ในแหล่งน้ำ เช่น ผักตบชวาจะเป็นอุปสรรคต่อการไหลของน้ำ และทำให้แหล่งน้ำตื้นเขิน บริเวณที่มีผักตบชวาจำนวนมากจนก่อให้เกิดปัญหา เช่น แม่น้ำท่าจีน จังหวัดนครปฐม แม่น้ำปราจีนบุรี จังหวัดปราจีนบุรี เป็นต้น
          3. วิกฤตการณ์เกี่ยวกับแร่และพลังงาน
แร่และพลังงานมีความจำเป็นต่อการพัฒนาทางด้านเศรษฐกิจของประเทศ ในปัจจุบันมีการใช้แร่และพลังงานมากขึ้น ซึ่งวิกฤตแระและพลังงาน มีดังนี้
              3.1 การขาดแคลนพลังงาน แร่และพลังงานเป็นทรัพยากรที่ใช้แล้วหมดไป คือ ไม่สามารถเกิดขึ้นมาใหม่ได้ใหม่กว่าจะเกิดขึ้นใหม่ต้องใช้เวลานานมาก ทำให้แร่และพลังงานที่ใช้แล้วหมดไปในอนาคตอันใกล้ เช่น ถ่านหิน ถ้ามีอัตราการใช้เช่นปัจจุบัน ถ่านหินก็จะหมดไปภายในระยะเวลาไม่นานเมื่อเกิดการขาดแคลนพลังงาน ทำให้ต้องนำเข้าพลังงานจากต่างประเทศ เช่น น้ำมัน แก๊สธรรมชาติ ซึ่งส่งผลกระทบต่อการเงินของประเทศ ทำให้ไทยต้องเสียดลการค้ากับต่างประเทศ และนอกจากนี้ราคาของแร่และพลังงานจะมีความผันผวนไปตามกระแสเศรษฐกิจและการเมือง ในส่วนของประชาชนก็จะได้รับผลกระทบจากราคาสินค้าที่แพงขึ้นตามวัตถุดิบและต้นทุนการผลิต
              3.2 ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม  การนำแร่และพลังงานมาใช้จะมีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมหากไม่มีระบบป้องกันที่ดี เช่น การทำเหมืองแร่ถ่านหิน ทำให้เกิดฝุ่นละอองในอากาศหรือปนเปื้อนในน้ำใต้ดิน หรือการทำเหมืองตะกั่วทำให้แหล่งน้ำใกล้เคียงมีปริมาณตะกั่วสูงกว่าปกติ ส่งผลกระทบต่อสุขภาพอนามัยของประชาชนที่อยู่บริเวณใกล้เคียง เช่น สารกำมะถันจากการผลิตไฟฟ้าด้วยถ่านหิน ทำให้เกิดโรคทางเดินหายใจ ระคายเคืองตา เป็นต้น
นอกจากนี้วิกฤตพลังงานยังส่งผลกระทบต่อสังคม เช่น การก่อสร้างโรงไฟฟ้าที่จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ทำให้เกิดปัญหาความขัดแย้งระหว่างประชาชนกับประชาชน กับผู้สนับสนุนผู้คัดค้านการก่อสร้าง โดยฝ่ายหนึ่งต้องการให้ท้องถิ่นได้รับการพัฒนา ส่วนฝ่ายหนึ่งก็เกรงว่าจะเกิดปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมตามมา นอกจากนี้มีการเกิดความขัดแย่งระหว่างประชาชนกับหน่อยงานของรัฐ จนในที่สุดรัฐบาลต้องระงับโครงการก่อสร้าง  เป็นต้น

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น